คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร (Agricultural Science Journal) ของสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวารสารที่เผยแพร่ บทวิจารณ์ (Review article) บทความวิจัย (Research article) และบทความวิจัยสั้น (Short communication) มาเป็นเวลากว่า 40 ปี ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อจาก ข่าวสารวิทยาศาสตร์การเกษตร (Asst Newsletter) เป็น วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural Science Journal) ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 30 (มกราคม 2540)
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์การเกษตร ได้แก่ เกษตรกลวิธาน สัตวบาล กีฏวิทยา คหกรรมศาสตร์ ปฐพีวิทยา โรคพืช พืชสวน พืชไร่นา ส่งเสริมและนิเทศศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ เศรษฐศาสตร์เกษตร วิศวกรรมเกษตร สัตว์น้ำ ป่าไม้ นิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร
ข้อกำหนดเกี่ยวกับบทความวิชาการที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารนี้
1. เป็นผลงานวิชาการที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. เป็นผลงานที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่าน
3. ผลงานที่ส่งต้องเรียบเรียงถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด
หลักเกณฑ์ทั่วไป
1. จัดพิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
- บทวิจารณ์ (Review article) และบทความวิจัย (Research article) จำนวนไม่เกิน 15 หน้า
- บทความวิจัยสั้น (Short communication) จำนวนไม่เกิน 4 หน้า
2. ตัวอักษรที่ใช้ในการจัดพิมพ์ กำหนดให้ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun New (จัดรูปแบบการพิมพ์ดังแสดงใน ASJ-Template2021-MS Word และ ASJ-Template2021-PDF)
3. จัดหน้ากระดาษขนาด Letter (21.5 × 28.0 เซนติเมตร) แบบ left-aligned เว้นระยะบรรทัดเท่ากับ 1 และระบุหมายเลขบรรทัดแบบต่อเนื่องทั้งเอกสาร
4. ตารางและภาพที่ใช้ประกอบในบทความ ควรแนบไฟล์ต้นฉบับของตารางและภาพนั้นมาด้วย
5. กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย en dash (–) ระหว่างตัวเลขทุกตำแหน่งในเนื้อหา ไม่ใช้ hyphen (-)
6. ชื่อลาตินของจีนัสและสปีชีส์ และชื่อเอนไซม์ให้เขียนด้วยตัวเอียง และใช้หน่วยในระบบ SI
วิธีการจัดทำต้นฉบับ
1. ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และกำหนดชื่อเรื่องอย่างย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นหัวเรื่อง (Running heads)
2. ชื่อผู้เขียน ระบุชื่อเต็มของผู้เขียน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. หน่วยงานของผู้เขียน ระบุชื่อหน่วยงาน จังหวัด รหัสไปรษณีย์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ และระบุคำสำคัญ จำนวนไม่เกิน 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. คำนำ เรียบเรียงโดยแสดงถึงความสำคัญและที่มาของงานวิจัย ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
6. อุปกรณ์และวิธีการ เรียบเรียงโดยแสดงวิธีการศึกษาตามขั้นตอน อธิบายหน่วยทดลองและแผนการทดลองที่ใช้ แสดงสมการเชิงสถิติพร้อมคำอธิบาย และระบุสถานที่ทดลองหรือสถานที่จัดเก็บตัวอย่างและข้อมูล
7. ผลการทดลองและวิจารณ์ เรียบเรียงผลการทดลองและวิจารณ์ผลการทดลอง โดยแสดงภาพและตารางเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และอ้างถึงภาพและตารางตามลำดับในเนื้อหา โดยใช้คำว่า Figure ในการอ้างอิงภาพและใช้คำว่า Table ในการอ้างอิงตาราง
8. กิตติกรรมประกาศ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เรียบเรียงย่อหน้าเดียวแบบกระชับ ระบุแหล่งทุนวิจัย บุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์หรือมีส่วนร่วมในงานวิจัย
9. เอกสารอ้างอิง เรียบเรียงเอกสารอ้างอิงโดยใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ในกรณีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษและต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้นด้วยคำว่า (in Thai) เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงตามตัวอักษรของนามสกุลผู้แต่งคนแรก ทั้งนี้ ผู้แต่งต้องตรวจสอบจำนวนเอกสารอ้างอิงให้ตรงกับในเนื้อหา
วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง
1. การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา
ใช้นามสกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วยปี เช่น Keonouchanh (2002), Hanna and Riley (2014) และ Pantelic et al. (2011) เป็นต้น กรณีมีผู้เขียนหลายคน ให้เรียงตามปีจากน้อยไปมาก ถ้าเป็นปีเดียวกันเรียงตามตัวอักษร คั่นเอกสารด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Schukken et al., 1994; Tummaruk et al., 2001) กรณีผู้เขียนคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ให้เรียงตามปี คั่นด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Serenius and Stalder, 2004; 2007) กรณีผู้เขียนคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันในปีเดียวกัน ให้ใช้อักษรกำกับตามลำดับ คั่นด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Department of Livestock Development, 2014a; 2014b)
2. การเขียนอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง
ให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของนามสกุลของผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำย่อชื่อ และชื่อกลาง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง หรือใช้ชื่อเต็มหน่วยงาน แล้วตามด้วยปีที่ตีพิมพ์ ให้ใช้ชื่อย่อวารสารตามคำแนะนำของ NCBI (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/journals/) กรณีที่ใช้เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษและต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้นด้วยคำว่า (in Thai) และกำหนดให้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแต่ละประเภท ดังนี้
(หนังสือ/ตำรา) |
Mauseth, J.D. 2014. Botany: An Introduction to Plant Biology. 5th edition. Jones & Bartlett Learning, MA, USA. 696 pp. |
(บทความในวารสารวิชาการ) |
Hanna, L.L.H. and D.G. Riley. 2014. Mapping genomic markers to closest feature using the R package Map2NCBI. Livest. Sci. 162: 59 – 65. Pantelic, V., L. Sretenovic, D. Ostojic-Andric, S. Trivunovic, M. M. Petrovic, S. Alevica and D. Ruzic-Muslic. 2011. Heritability and genetic correlation of production and reproduction traits of Simmental cows. Afr. J. Biotechnol. 10: 7117 – 7121. |
(บทความในเอกสารการประชุมวิชาการ) |
Rushunju, B.G., P. Jitareerat, M. Buanong, V. Srilaong and A. Uthairatanakij. 2016. The effect of UV-B treatment on physicochemical and sensory quality of king oyster mushroom (Pleurotus eryngii) during cold storage. In Proc. the 54th Kasetsart University Annual Conference, 2 – 5 February 2016. p. 1141. (in Thai) |
(วิทยานิพนธ์) |
Keonouchanh, S. 2002. Genetic Analysis of Sows Longevity and Lifetime Productivity in Two Purebred Swine Herds. MS Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai) |
(บทความในเวปไซต์) |
VanRaden, P.M. 2011. Findhap.f90. Available Source: http://aipl.arsusda.gov/software/findhap, September 26, 2014. |
การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนต้องส่งไฟล์ต้นฉบับที่จัดเตรียมเนื้อหาตามรูปแบบข้างต้น ถึงบรรณาธิการผ่านระบบวารสารออนไลน์ (Open Journal System) ซึ่งผู้เขียนสามารถสมัคร (Register) เข้าใช้งานระบบได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ASJ และส่งบทความวิชาการ (Make a Submission) เพื่อเข้ารับการพิจารณา ประกอบด้วย
- ไฟล์ต้นฉบับทั้งรูปแบบ Doc และ PDF
- ไฟล์รูปภาพ (ถ้ามี) ซึ่งรูปแบบไฟล์ภาพที่ใช้เป็น TIFF หรือ JPEG เท่านั้น กำหนดให้ใช้ภาพขาวดำและภาพสีที่มีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi ขึ้นไป
- ไฟล์แบบฟอร์มขอส่งบทความวิจัย (สามารถดาวน์โหลดได้จากเวปไซต์วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร)
การตรวจแก้ไขและการยอมรับการตีพิมพ์
- การติดต่อผู้เขียนเพื่อการตรวจแก้ไขหรือตอบรับ/ปฏิเสธการตีพิมพ์ จะกระทำผ่านระบบวารสารออนไลน์
- กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขต้นฉบับที่จะส่งไปตีพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร โดยจัดส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้วให้ผู้เขียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันอีกครั้งก่อนการตีพิมพ์
- เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะเผยแพร่บทความบนเวปไซต์วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร (http://agscij.agr.ku.ac.th/index.php) ซึ่งผู้เขียนสามารถ download ผลงานในรูปแบบ PDF ได้ด้วยตนเอง
สำเนาต้นฉบับ
กองบรรณาธิการจะส่ง Reprint ผลงานวิจัยในรูปแบบ PDF เมื่อบทความได้รับพิจารณาตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
รูปแบบการเขียน